วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความภูมิใจ ชาว Law Club

ความภูมิใจ ชาว Law Club  




ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยาบรมราชกุมารี 
ตอบปัญหากฎหมาย ณ มหาวิทลัยศรีปทุม  
โดย นายปณชัย   บรรธุปา  และ นางสาววิชุดา  มูลหา  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9

ยุวชนประชาธิปไตยสัมพันธ์

ยุวชนประชาธิปไตยสัมพันธ์  ณ  สถานีวิทยุโทรทัศน์ 
 กรมประชาสัมพันธ์ จังหวัดอุบลราชธานี
26  มิถุนายน  2554   
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   และ
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การหาเสียงเลือกตั้ง   
By
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
1. นายเดชา  โคตรหลักคำ
2. นายสิทธิศักดิ์ พรมรักษ์
3. นายมงคล  สีลารวม

เลี้ยงส่งรุ่นพี่ law club

แหล่งเรียนรู้   ฝีมือเรา ชาว Law club










กิจกรรมพี่สอนน้อง By Panachai

กิจกรรมพี่สอนน้อง By Panachai







กิจกรรมพี่สอนน้อง

กิจกรรมพี่สอนน้อง     By    Sasipapha  












วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบกฏหมาย ชุดที่ 1

แบบทดสอบกฎหมายชุดที่  1
1. ข้อใด  ไม่ใช่  ลักษณะสำคัญของกฎหมาย
                ก.  มีสภาพบังคับ                                                                ข.  อยู่ภายใต้หลักศีลธรรม
                ค.  มีขั้นตอนที่แน่นอน                                                     ง.  ต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
2.  ข้อใดต่อไปนี้  มิใช่  สภาพบังคับของกฎหมาย
                ก.  จำคุก                                ข.  กักขัง                               ค.  ฉีดยาให้ตาย                   ง.  ควบคุมตัว
3.  ประเทศไทยใช้กฎหมายระบบใด
                ก.  ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร                                ข.  ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
                ค.  ระบบกฎหมายมหาชน                                               ง.  ระบบกฎหมายประมวลกฎหมาย
4.  ระบบกฎหมายของประเทศใดที่เรียกว่า    Judge  make  law
                ก.  เยอรมัน                                                                          ข.  ฝรั่งเศส
                ค.  สหรัฐอเมริกา                                                                ง.  จีน
5.  ประเทศใดใช้ระบบประมวลกฎหมายทั้งหมด
                ก.  ฝรั่งเศส  สเปน  อิตาลี  ญี่ปุ่น  ไทย                         
ข.  สเปน  ญี่ปุ่น  ไทย  เยอรมัน  แคนาดา
                ค.  ญี่ปุ่น  ไทย  ฝรั่งเศส  ออสเตรเลีย  เบลเยี่ยม         
ง.  ออสเตรเลีย  เบลเยี่ยม  แคนาดา  ไทย  ฝรั่งเศส
6.  การจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ  ต้องตราเป็นกฎหมายประเภทใด
                ก.  พระราชกฤษฎีกา                                                          ข.  พระราชบัญญัติ
                ค.  กฎกระทรวง                                                                  ง.  ประกาศกระทรวง
7.  โดยปกติทั่วไปแล้วกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้ก็ต่อเมื่อ  “ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา”  แต่กฎหมายใดบ้างที่ไม่จำเป็นต้องประกาศลงในราชกิจจนุเบกษา  เพียงแต่ประกาศไว้    ศาลากลางจังหวัด  สำนักงานเทศบาล  ที่ว่าการอำเภอ ฯลฯ  ก็มีผลให้กฎหมายเป็นอันดับใช้ได้ 
ก.  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร                                       ข.  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
ค.  กฎกระทรวง                                                                  ง.  ถูกทั้ง    และ 
8.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ การตีความกฎหมาย”
ก.  หากกฎหมายชัดเจนดีอยู่แล้วจะตีความต่อเมื่อผู้ใช้กฎหมายรู้สึกว่ากฎหมายนั้นหากนำไปปรับใช้
      แก่บังคับคดีแล้วจะก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น
ข.  ผู้ที่จะตีความกฎหมายได้มีเฉพาะนักนิติศาสตร์  และศาลท่านั้น  ส่วนประชาชนไม่มีสิทธิตีความ
ค.  การตีความกฎหมายจะพึงกระทำก็ต่อเมื่อเกิดมีข้อสงสัยความหมายของกฎหมาย  หากกฎหมายชัดเจนดีอยู่แล้วก็ไม่จำต้องตีความแต่อย่างใด
ง.  ถูกทั้ง    และ 
8.  กฎหมายใดที่มิได้ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
                ก.  กฎมณเทียรบาล                                                            ข.  พระราชกฤษฎีกา
                ค.  ประมวลกฎหมาย                                                         ง.  ถูกทุกข้อ
9.  กฎหมายเมื่อบัญญัติออกมาแล้วไม่ได้ใช้นานๆจะเป็นเช่นไร
                ก.  ยังบังคับได้อยู่เสมอ                                                      ข.  ต้องแก้ไขเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้
                ค.  อาจใช้ได้ถ้าประชาชาน                                              ง.  ใช้ไม่ได้เพราะไม่เหมาะสมกับยุคสมัย
10.  ประมวลกฎหมายกฎหมายอาญาถือเป็นกฎหมายประเภทใด
                ก.  กฎหมายเอกชน                                                            ข.  กฎหมายมหาชน
                ค.  กฎหมายปกครอง                                                         ง.  กฎหมายวิธีสบัญญัติ
11. กฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นเรียกว่าอะไร
                ก.  พระราชบัญญัติ                                                            
ข.  พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด
                ค.  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนดและพระราชกฤษฎีกา
                ง.    และ    ถูกต้อง
12.  ร่างพระราชบัญญัติจะมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อ
                ก.  ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
                ข.  ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิแล้ว
                ค.  พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยแล้ว
                ง.  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
13.  ใครไม่มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                ก.  คณะรัฐมนตรี                                                               
ข.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
ค.  สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
ง.  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน
14.  ข้อใดไม่ใช่กฎหมายของฝ่ายบริหาร
                ก.  รัฐธรรมนูญ                                                                   ข.  พระราชกำหนด
                ค.  พระราชกฤษฎีกา                                                          ง.  กฎกระทรวง
15.  ข้อใดไม่ใช่กฎหมายมหาชน
                ก.  กฎหมายรัฐธรรมนูญ                                                   ข.  กฎหมายปกครอง
                ค.  กฎหมายการคลัง                                                          ง.  กฎหมายครอบครัว
16.  ข้อใดมีความหมายตรงกับลักษณะของกฎหมายที่ว่า  กฎหมายต้องบังคับใช้ได้เสมอไป
                ก.  กฎหมายนอนหลับแต่ไม่ตาย    
                ข.  กฎหมายสามารถใช้บังคับได้จนกว่าจะมีกฎหมายใหม่
                ค.  กฎหมายประกาศใช้แล้วสามารถบังคับใช้กับทุกคน  ทุกสถานที่เท่าเทียมกัน
                ง.  กฎหมายจะนำมาใช้ได้เมื่อไม่ขัดแย้งกฎหมายเก่า
17.  พระราชบัญญัติและพระราชกำหนดมีความคล้ายกันในเรื่องใด
                ก.  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
                ข.  เป็นระเบียบข้อบังคับใช้ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของประชาชน
                ค.  ก่อนที่จะประกาศใช้ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาก่อน
                ง.  เป็นกฎหมายที่มีลำดับความสำคัญเทียบได้กับประมวลกฎหมาย
18.  ข้อใด  ไม่ถูกต้อง  เกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี( Common  Law )
                ก.  ผู้พิพากษาเป็นผู้สร้างกฎหมาย
                ข.  เป็นระบบกฎหมายที่ไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
                ค.  ประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของระบบนี้คือประเทศอังกฤษ
                ง.  จารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย
19.  กฎหมายวิธีสบัญญัติ  คืออะไร
                ก.  กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
                ข.  กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติ
                ค.  กฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพลเมืองกับรัฐ  องค์กรของรัฐ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                ง.  กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการ
20.  คำกล่าวที่ว่า    ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว”  หมายความว่าอย่างไร
                ก.  กฎหมายบังคับให้ทุกคนต้องรู้กฎหมาย
                ข.  ทุกคนจำเป็นต้องรู้กฎหมายเมื่อรัฐประกาศใช้
                ค.  เมื่อมีการทำผิดกฎหมายจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อพ้นโทษไม่ได้
21.  สิ่งใดที่ทำให้กฎหมายมีลักษณะที่แตกต่างไปจากศีลธรรม  และ  จารีตประเพณี
                ก.  ลักษณะที่ต้องบัญญัติขึ้นใช้บังคับโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
                ข.  ลักษณะที่มีสภาพบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะซึ่งต้องอาศัยกลไกสาธารณะเป็นเครื่องมือ
                ค.  ลักษณะพื้นฐานที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติและลักษณะของการปฏิบัติต่อกันเป็นเวลานานๆ
                ง.  ข้อ    และ    ถูกต้อง
22.  หลักการที่กำหนดให้สมาชิกในสังคมต้องรู้กฎหมาย  หรือหลัก  “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว”
ทำให้รัฐต้องดำเนินการอย่างใดเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวมากที่สุด
ก.       จัดทำเว็บไซด์ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
ข.      การประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
ค.      หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเมื่อผู้ร้องขอ
ง.       จัดพิมพ์เผยแพร่ระเบียบคำสั่งของหน่วยราชการต่างๆ
23.  การจัดประเภทของกฎหมายคู่ใดมีความสอดคล้องกับการจัดระบบศาลโดยแบ่งเป็นระบบศาลยุติธรรมกับศาลปกครองมากที่สุด
                ก.  กฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน
                ข.  กฎหมายสารบัญญัติกับกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                ค.  กฎหมายแพ่งกับกฎหมายอาญา
                ง.  กฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ
24.  ประเทศใดไม่อยู่ในกลุ่มที่ใช้ระบบ  Common  Law
                ก.  ประเทศเยอรมนี                                                           ข.  ประเทศอินเดีย
                ค.  ประเทศสหรัฐอเมริกา                                                 ง.  ประเทศนิวซีแลนด์
25.  กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีในฐานะที่เท่าเทียมกัน  คือข้อใด
                ก.  กฎหมายเอกชน                                                            ข.  กฎหมายมหาชน
                ค.  กฎหมายปกครอง                                                         ง.  รัฐธรรมนูญ
26.  หน่วยงานใด  ไม่ใช่  หน่วยราชการส่วนกลาง
                ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี                                                    ข.  กรมการปกครอง
                ค.  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                           ง.  กรุงเทพมหานคร
27.  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรใดที่ไม่มีในปัจจุบัน
                ก.  เทศบาล                                                                           ข.  สุขาภิบาล
                ค.  องค์การบริหารส่วนตำบล                                           ง.  องค์การบริหารส่วนจังหวัด
28.  กฎหมายไทยฉบับใดที่มีการรวบรวมขึ้นเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกในประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย
                ก.  ประมลกฎหมายตราสามดวง                                     ข.  ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
                ค.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์                          ง.  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
29.  ข้อใดกล่าวถึงกฎหมายวิธีสบัญญัติได้ถูกต้อง
                ก.  กฎหมายว่าด้วยสิทธิ และหน้าที่ของประชาชน
                .  กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการแผ่นดิน
                .  กฎหมายว่าด้วยวิธีการบัญญัติกฎหมาย
                .  กฎหมายว่าด้วยระเบียบ วิธีการ และขั้นตอนการนำคดีขึ้นสู่ศาล
30.  ข้อใดกล่าวถึงระบบกฎหมายของประเทศไทยได้ถูกต้องที่สุด
                .  ตัวบทกฎหมายสำคัญที่สุด                                             .  คำพิพากษาของศาลสำคัญที่สุด
                .  จารีตประเพณีสำคัญที่สุด                                               .   การปฏิบัติตามของประชาชนสำคัญที่สุด
31.  กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งแตกต่างกันอย่างไร
                .  สภาพบังคับ                                                                      .  การตีความ
                .  ศาลที่พิพากษาคดี                                                             .  ถูกทุกข้อ
32.  คำกล่าวที่ว่า “กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ” หมายความว่าอย่างไร
                .  บังคับให้ทุกคนปฏิบัติการไม่ใช่คำเชิญชวน
                .  ถ้าไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่ามีความผิด และถูกลงโทษ
                .  รัฐาธิปัตย์บังคับทุก ๆ คนในรัฐเคารพและเชื่อฟัง ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษ
                .  ถูกทุกข้อ
33.  คำกล่าวว่า “กฎหมายต้องใช้บังคับเสมอไป” หมายความว่าอย่างไร
                .  กฎหมายที่ออกมาแล้วต้องใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะถูกยกเลิก
                .  กฎหมายที่ออกมาแล้ว ถ้าไม่ได้บังคับใช้เป็นเวลานานถือว่าเสียเปล่าใช้ไม่ได้
                .  กฎหมายที่ออกมาแล้วแม้จะไม่ได้บังคับใช้เป็นเวลานานก็ยังต้องถือว่ามีผลใช้ได้อยู่
                .  ข้อ ก. , . ถูกต้อง
34.  ข้อแตกต่างของระบบ Common Law และ Civil Law ข้อใด ไม่ถูกต้อง
                .  Common Law ไม่บัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
                .  Common Law เกิดจากจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาล
                .  Civil Law ถือว่าหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายสำคัญที่สุด
                .  ประเทศที่ใช้ระบบ Common Law คือประเทศอังกฤษ
35.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ข้อใดคือสภาพบังคับทางอาญา
                .  ริบทรัพย์สิน                                                                      .  คืนทรัพย์สิน
                .  ยึดทรัพย์                                                                            .  ทุกข้อถูก
36.  การตราพระราชกฤษฎีกามีเงื่อนไขในกรณีใด
                .  ต้องเป็นกรณีมีความจำเป็นรีบด่วน เพื่อความปลอดภัยของประเทศ
                .  ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายแม่บทและต้องออกโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
                .  เมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติเป็นขั้นตอนสุดท้าย
                .  เป็นกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีจัดทำขึ้นโดยต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาด้วย
37.  ข้อใดกล่าวถึง ผลบังคับของพระราชกำหนดได้ถูกต้อง
                .  มีผลใช้บังคับทันที แต่ต้องเสนอรัฐสภาต่อไป
                .  มีผลใช้บังคับทันที แต่ต้องเสนอวุฒิสภาต่อไป
                .  มีผลใช้บังคับทันที แต่ต้องเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                .  ไม่มีผลใช้บังคับทันที จนกว่ารัฐสภาจะเห็นชอบ
38.  กฎหมายของฝ่ายบริหาร ข้อใดต่อไปนี้มีลำดับศักดิ์สูงสุด
                .  กฎกระทรวง                                                                        .  พระราชกฤษฎีกา
                .  พระราชกำหนด                                                                  .   พระราชบัญญัติ
39.  พระราชกำหนดที่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เห็นชอบ มีผลทำให้พระราชกำหนดนั้นตกไป กรณีเช่นนี้ถือว่า
                .  เป็นการยกเลิกกฎหมายในกรณีพิเศษ                      .  เป็นการยกเลิกกฎหมายโดยตรง
                .  เป็นการยกเลิกกฎหมายโดยปริยาย                           .   เป็นการยกเลิกกฎหมายโดยอ้อม
40.  ถ้ากฎหมายที่ใช้บัญญัติขึ้นมาใหม่มีข้อความขัดแย้งหรือต่างจากกฎหมายเก่าในเรื่องเดียวกัน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
                .  กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยปริยาย
                .  กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่าโดยตรง
                .  ให้ใช้กฎหมายใหม่ก่อนในการพิจารณา แล้วค่อยใช้กฎหมายเก่า
                .   ให้ใช้กฎหมายเก่าก่อนในการพิจารณา แล้วค่อยใช้กฎหมายใหม่
41.  ข้อใดกล่าวถึง ผลของการยกเลิกของกฎหมายได้ถูกต้อง
.  ถ้ายกเลิกพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ไม่เป็นผลให้พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง
      ที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายนั้นถูกยกเลิกไปด้วย
.  ถ้ายกเลิกพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผลให้พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง
      ที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายนั้นถูกยกเลิกไปด้วย
.  ถ้ายกเลิกพระราชกฤษฎีกามีผลทำให้พระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจในการ       
      ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ถูกยกเลิกไปด้วย
                ง.   ไม่มีข้อใดถูกต้อง
42.  ข้อใดเรียงลำดับศักดิ์กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารถูกต้อง
                ก.  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวง  ประกาศกระทรวง  ข้อบังคับ
                ข.  พระราชกฤษฎีกา  พระราชกำหนด  กฎกระทรวง  ประกาศกระทรวง  ข้อบังคับ
                ค.  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  ประกาศกระทรวง  กฎกระทรวง  ข้อบังคับ
                ง.  พระราชกำหนด  พระราชบัญญัติ  กฎกระทรวง  ประกาศกระทรวง  ข้อบังคับ
43.  ข้อใดเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมาย
                ก.  ขนบธรรมเนียมประเพณี                                            ข.  คำพิพากษาของศาล
                ค.  ตัวบทกฎหมาย                                                              ง.  ถูกทุกข้อ
44.  การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของการใช้  แบ่งออกได้ตามข้อใด
                ก.  กฎหมายจารีตประเพณีและกฎหมายลายลักษณ์อักษร
                ข.  กฎหมายเอกชน  กฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศ
                ค.  กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                ง.  กฎหมายรัฐธรรมนูญ  กฎหมายปกครอง  กฎหมายอาญา  และกฎหมายแพ่ง
45.  ข้อใด  ไม่ถูกต้อง  เกี่ยวกับลักษณะของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                ก.  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบขั้นตอนและกฎเกณฑ์ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดกรณีพิพาททางแพ่ง
                ข.  เป็นกฎหมายมหาชน
                ค.  กฎหมายที่ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
                ง.  เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
46.  ข้อใดกล่าวถึงกฎหมายปกครองได้ถูกต้อง
                ก.  กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งการใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ
                ข.  กฎหมายที่ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
                ค. กฎหมายที่ว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
                ง.  ไม่มีข้อใดถูกต้อง
47.  ข้อใด  ไม่ถูกต้อง  ตามลักษณะของกฎหมายมหาชน
                ก.  เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
                ข.  กฎหมายอาญาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชน
                ค.  กฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นกฎหมายมหาชน
                ง.  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนในฐานะที่เท่าเทียมกัน
48.  ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่  กฎหมายมหาชน
                ก.  กฎหมายอาญา                                                               ข.  กฎหมายรัฐธรรมนูญ
                ค.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์                          ง.  พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการตอบคำถาม
                ก.  พระราชบัญญัติ                                                             ข.  พระราชกำหนด
                ค.  พระราชกฤษฎีกา                                                          ง.  ประมวลกฎหมาย

49.  ข้อใด  เป็นกฎหมายที่ออกในสถานการณ์จำเป็นหรือฉุกเฉินของประเทศ
50.  กฎหมายที่ออกโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
51.  กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ทันที  แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็เป็นอันตกไป  แต่ไม่กระทบถึงกิจการที่ได้ดำเนินไปแล้วตามกฎหมายนั้น
52.  ในการพิจารณาพระราชบัญญัติแบ่งเป็น  3  วาระ  วาระใด  ไม่มีการอภิปราย
                ก.  วาระที่  1                                                                        ข.  วาระที่  2
                ค.  วาระที่  3                                                                        ง.  วาระที่  4
53.  ข้อใดกล่าวถึงการตีความกำหมายได้ถูกต้อง
                ก.  การนำกฎหมายมาใช้อย่างถูกต้อง                           
                ข.  การค้นหาความหมายที่แท้จริงของกฎหมาย
                ค.  การหากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงไม่ได้
                ง.  การนำกฎหมายมาตีความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันถูกต้องเป็นธรรม
54.  ระบบการดำเนินคดีอาญาของไทยเป็นระบบใด
                ก.  ระบบกล่าวหา                                                               ข.  ระบบไต่สวน
                ค.  ระบบสอบสวน                                                             ง.  ระบบสืบสวน
55.  อากาศยานไทยบินอยู่เหนือน่านฟ้าประเทศสวีเดน  หลังจากบินขึ้นมาจากท่าอากาศยานประเทศนอรเวย์  ขณะที่บินอยู่นั้น  นายลี  คนสัญชาติเกาหลี  ได้ทำร้ายร่างกายนายแฟรงค์  คนสวีเดน  ถึงแก่ความตาย  เมื่ออากาศยานลงจอดที่ประเทศไทย  ข้อใดถูกต้อง
                ก.  นายลี  ต้องรับผิด  เพราะอากาศยานมาลงจอดที่ประเทศไทย
                ข.  นายลี  ไม่ต้องรับผิด  เพราะขณะที่ทำผิดนั้น  ไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักรไทย
                ค.  นายลี  ไม่ต้องรับผิด  เพราะไม่ใช่คนสัญชาติไทย
                ง.  นายลี  ต้องรับผิด  เพราะถือว่าเป็นการกระทำในราชอาณาจักรไทย